US Army Sniper vs Marine Scout Sniper ใครคือ " สุดยอดพลซุ่มยิง " Valor Tactical

เนื้อหาจากบทความของ Joshua Skovlund จาก coffeeordie.com

แปลและเรียบเรียงโดย: เทอดพงษ์ ฉายะรถี

พลซุ่มยิงของกองทัพสหรัฐและพลซุ่มยิงนาวิกโยธินสหรัฐ
ฝ่ายใดจะมีพลซุ่มยิงที่มีตำนานความแม่นยำมากที่สุด?

จุดเริ่มต้นของพลซุ่มยิงอเมริกันนั้นไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก
โดยมีรายงานเกี่ยวกับพลซุ่มยิงย้อนกลับไปได้ถึงช่วงสมัยยุคปฏิวัติอเมริกา
( ราวๆ ค.ศ. 1775 หรือกว่า 245 ปีที่แล้ว )

โรงเรียนสอนพลซุ่มยิงแห่งแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาภายใต้
กองทัพสหรัฐ คือ โรงเรียนสอนพลซุ่มยิงของนาวิกโยธินสหรัฐ
ที่ ฆวนติโค เวอร์จิเนีย ในปี ค.ศ.1977 และกองทัพบกสหรัฐ
ได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนพลซุ่มยิงในภายหลังที่ ฟอร์ท เบนนิ่ง จอร์เจีย
ในปี ค.ศ.1985 ศึกระหว่างศิษย์พลซุ่มยิงสองพี่น้อง นั้นเป็นที่ขึ้นชื่อลือชา
ซึ่งยาวนานมามากกว่าอายุของโรงเรียนฝึกสอนของทั้งสองเหล่าทัพเสียอีก

คาร์ลอส แฮทคอค์กในเวียดนาม

 

สำหรับตำนานพลซุ่มยิงมือฉมังทางฝั่งนาวิกโยธินมี
คาร์ลอส แฮทคอค์ก (Carlos Hathcock)

หรือในนามแฝงที่ชื่อ ขนขาว (White Feather) ซึ่งมีสถิติการสังหาร
ที่ได้รับการยืนยันถึง 93 ศพในสงครามเวียดนามจากบรรดาข้าศึกที่เขาได้สังหารไป
มีหลายรายที่ขึ้นชื่อว่าโหดร้ายทารุณและหนึ่งในนั้นมีเวียดกงหญิงที่ชื่อว่า

"อาปาเช่"

โดยหากอ้างอิงจากเว็บไซต์ Military.com จะมีการกล่าวถึงเธอไว้ว่า


"'เธอทรมานนาวิกโยธินสหรัฐที่เธอสามารถจับตัวได้ตลอดทั้งครึ่งวันช่วงบ่าย'
คาร์ลอสระลึกถึงสิ่งที่เขาเห็น 'ผมเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ของผมตลอดเวลา
แต่นาวิกโยธินหนุ่มรายนี้โชคร้ายออกไปจากระยะเฝ้าระวังของผม'
'เธอถลกหนังส่วนลับของเขา เธอตัดหนังตาของเขาออก เธอดึงเล็บของเขา
และเธอเฉือนอัณฑะของเขาทิ้ง นั้นคือทุกสิ่งที่เธอทำก่อนที่จะปล่อย
นาวิกโยธินหนุ่มรายนี้ไป' ผมพยายามจะช่วยเขาแล้ว แต่ผมสายไป'"

adelbert f. walderon m14 vietnam

ส่วนสำหรับฝั่งกองทัพบก ก็มี อเดลเบิร์ท วัลดรอน (Adelbert Waldron)
ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในตำนานพลซุ่มยิงมือฉมัง ในสงครามเวียดนามเช่นเดียวกัน

หลังจากที่เขาได้ใช้เวลาอยู่กับกองทัพเรือสหรัฐเป็นเวลา 12 ปี
อเดลเบิร์ทก็เลือกที่จะย้ายมาอยู่กองทัพบกโดยเริ่มต้นด้วยยศสิบเอก
และเข้าประจำการที่บริเวณปากสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง

พลตรีจูเลี่ยน อีเวลล์ (Julian Ewell) ได้เล่าเรื่องราวของวัลดรอน
ที่มีสายตาเหมือนเหยี่ยวไว้ว่า "บ่ายวันหนึ่ง ในขณะที่เขากำลังนั่งอยู่
บนเรือระบายพลขนาดกลางในแม่น้ำโขง ได้มีพลซุ่มยิงที่ซุ่มอยู่ที่ชายฝั่ง
ทำการยิงมาที่เรือ ซึ่งในขณะที่ทุกคนกำลังผวากับสิ่งที่เกิดขึ้น
และพยายามหาว่าพลซุ่มยิงศัตรูซึ่งอยู่ไกลออกไปถึง 900 เมตร อยู่ที่ไหน

สิบเอกวัลดรอนได้ทำการหยิบปืนซุ่มยิงของเขาออกมา
และทำการยิงพลซุ่มยิงเวียดกงที่ซ่อนอยู่บนยอดต้นมะพร้าวด้วยกระสุนนัดเดียว"

ทาง Coffee or Die ได้มีการสัมภาษณ์กับทางพลซุ่มยิงของกองทัพบกสหรัฐและ
พลซุ่มยิงของนาวิกโยธินสหรัฐ ว่ามุมมองในอาชีพของตนนั้น ทั้งสองฝ่าย
มีความแตกต่างในการปฏิบัติหน้าที่กันอย่างไร

โลแกน สตาร์ค ในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธินที่ประเทศอัฟกานิสถาน


บก. ของบริษัท Black Rifle Coffee Company โลแกน สตาร์ค (Logan Stark)
เริ่มต้นชีวิตการเป็นพลซุ่มยิงของเขาที่นาวิกโยธินสหรัฐ
ในเดือน พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2007 โดยอยู่ในกองทัพเป็นเวลากว่า 4 ปี
และได้ผ่านการปฏิบัติภารกิจภาคสนามที่ต่างประเทศมาแล้ว 3 รอบ

สตาร์คผ่านการทดสอบและจบการศึกษาจากโรงเรียนสอนพลซุ่มยิงในที่สุด
เขาบอกไว้ว่าสิ่งที่ยากที่สุดในโรงเรียนคือการยิงด้วยกระสุนจริง
ซึ่งเป็นการยิงด้วยกระสุนจริงที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เพราะบนกระดาษ
การทดสอบจะระบุไว้ว่าจะเป็นการยิงที่ระยะ 1,000 หลา แต่พอทำการยิงจริง
ระยะจะมีตั้งแต่ 750 หลา ถึง 1,000 หลา

ซึ่งทำให้ระยะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
และทำให้การคำนวณทิศทางลมสำหรับการยิงยิ่งยากขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขความยากที่ทุกคนได้เผชิญจะกลายมาเป็น
สิ่งที่หล่อหลอมให้ทุกคนได้มีทักษะที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเป็นพลซุ่มยิง
สอดแนมมือฉมังของนาวิกโยธินสหรัฐ ซึ่งหากอิงตามในสิ่งที่สตาร์คบอก
คือ การเป็นพลซุ่มยิงที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและใจเย็น
และสามารถทำการตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

"นี่คือเหตุผลที่ทำให้ผมเข้ามาเป็นนาวิกโยธินสรัฐ
คือเข้ามาเพื่อทำในสิ่งที่มันยากนั้นแหละ" เขากล่าว
"มันไม่มีส่วนไหนเลยที่แย่ เป็นความทรงจำที่สนุกมากๆ"

ในขณะที่สตาร์คไม่เคยได้ปฏิบัติภารกิจกับพลซุ่มยิงของกองทัพบกสหรัฐโดยตรง
เขาได้เรียนรู้ผ่านสังคมแวดวงพลซุ่มยิงว่าข้อแตกต่างที่สำคัญของซุ่มยิง
จากสองเหล่าทัพคือ

"ส่วนการลาดตระเวนสอดแนมของโปรแกรมฝึกสอนพลซุ่มยิงสอดแนม
ของนาวิกโยธินสหรัฐเราถูกฝึกสอนมาให้เป็นหน่วยที่สามารถปฏิบัติภารกิจ
ได้ด้วยตัวเองโดยที่ในทีมมีสมาชิกเพียง 4 คน และไม่พึ่งกำลังเสริมใดๆ"

 

ฟิลิปป์ เวลาโย ขณะเตรียมพร้อมที่จะยิงเป้าหมายในสนามฝึก


ฟิลิปป์ เวลาโย (Phillip Velayo) ใช้เวลากว่า 10 ปีครึ่งในการเป็นหนึ่งในสมาชิกหมู่
ของพลซุ่มยิงสอดแนมนาวิกโยธินสหรัฐเขาผ่านการฝึกเป็นพลซุ่มยิงสอดแนมในการพยายามสอบครั้งที่ 2 และเป็นผู้ฝึกสอนในช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 2015 - ค.ศ. 2018

ตอนนี้เขาเป็นผู้ควบคุมการฝึกสอนสำหรับมหาวิทยาลัย
Gunwerks Long Range University

เวลาโยได้มีโอกาสทำงานร่วมกับพลซุ่มยิงจากกองทัพบกสหรัฐในอดีต
และจากที่ได้พูดคุยกัน เขาได้เรียนรู้ว่าระยะเวลาการฝึกสอนของโรงเรียนสอนพลซุ่มยิงกองทัพบกสหรัฐนั้นสั้นกว่า เพียง 5 สัปดาห์ ซึ่งเทียบกับโรงเรียนสอนพลซุ่มยิง
ของนาวิกโยธินสหรัฐ ที่มีระยะเวลาการทดสอบ 3 สัปดาห์ และหากผ่าน
จะต้องทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 79 วัน (ประมาณ 12 สัปดาห์) เขาเสริมว่า
พลซุ่มยิงของกองทัพบกสหรัฐจะเน้นไปที่เรื่องทักษะความแม่นยำในการยิง
มากกว่าการวางแผนการรบ เพราะกองทัพบกสหรัฐมีหน่วยสอดแนมโดยตรง

ในขณะที่พลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธินจะถูกคาดหวัง
ให้รับผิดชอบทั้งการสอดแนมและการยิง

เวลาโยได้ทำการยกตัวอย่างไว้ว่า หากคุณนำนาวิกโยธินที่ไม่เคยทำการฝึกมาก่อน
และให้เขาทำการเรียนที่โรงเรียนสอนพลซุ่มยิง มาเปรียบเทียบกับทหารจากกองทัพบก
คุณอาจจะคิดว่าผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นพลซุ่มยิงที่เก่งเหมือนกัน แต่สำหรับผม
ผมคิดว่าว่าฝั่งนาวิกโยธินจะเก่งกว่า เพราะการฝึกของเรามีมาตราฐานที่สูงกว่า
ของฝั่งกองทัพบก

เบรดี้ เคอร์วานต์สขณะเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการ


เบรดี้ เคอร์วานต์ส (Brady Cervantes) ใช้เวลาอยู่ในนาวิกโยธินสหรัฐ
ในฐานะพลซุ่มยิงสอดแนม มากว่า 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2006
และได้ผ่านการปฏิบัติภารกิจภาคสนามที่ต่างประเทศมาแล้วถึง 4 รอบ
เคอร์วานต์สผ่านโรงเรียนฝึกสอนซุ่มยิงในครั้งที่สอง โดยครั้งแรกเขาต้องออก
จากโรงเรียนก่อนกำหนดเพราะเกิดเรื่องขึ้นในครอบครัวของเขา

"สิ่งหนึ่งที่ผมให้ความเคารพเกี่ยวกับกองทัพบกคือ หลักสูตรการฝึกสอน
ที่เข้มข้นมากกว่าของนาวิกโยธิน" เคอร์วานต์ส กล่าวไว้ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบ
หลักสูตรของสองโรงเรียน โดยมีการเสริมว่าหลักสูตรของกองทัพบก
จะเจาะลึกไปจนถึงขั้นการโฟกัสภารกิจ

ของพลซุ่มยิง แต่อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าว่าหลักสูตร
ของนาวิกโยธินสหรัฐมีมาตราฐานที่สูงที่สุดภายในแวดวงของพลซุ่มยิง

เคอร์วานต์สกล่าวว่าหากคุณนำพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธิน
ไปใส่ในหมู่อื่น การสนทนาระหว่างพลระบุตำแหน่งกับพลยิง
ก็จะยังเหมือนกันอยู่ดีเพื่อการทำงานเป็นทีมที่ลื่นไหล

ซึ่งในประสบการณ์ของเคอร์วานต์ส ทีมซุ่มยิงของกองทัพบกสหรัฐ
ไม่มีบทสนทนาที่แน่นอนและชัดเจนระหว่างพลระบุตำแหน่งกับพลยิง

แต่ท้ายที่สุด เคอร์วานต์ส ก็พูดว่า "ถ้าคุณเป็นพี่น้องพลซุ่มยิงด้วยกัน
คุณจะได้รับความเคารพจากผม"

 

เท็ด จีอุนตา เคยเป็นพลซุ่มยิงของกรมทหารจู่โจมที่ 75 ของกองทัพสหรัฐ


เท็ด จีอุนตา (Ted Giunta) เป็นหนึ่งในสมาชิกของ
กรมทหารจู่โจมที่ 75 กองพันที่ 2 ของกองทัพสหรัฐ

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ถึง ค.ศ. 2009 โดยเขาได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในหมู่พลซุ่มยิง
ในปี ค.ศ. 2006 เขาผ่านการปฏิบัติภารกิจภาคสนามที่ต่างประเทศมาแล้ว 4 รอบ
ในฐานะพลซุ่มยิง และใน 3 รอบนั้นเป็นหัวหน้าชุด ภายหลังจากเกษียณออกจากกองทัพ
เขาได้ร่วมทำงานกับกระทรวงพลังงานของสหรัฐเกี่ยวกับการขนส่งนิวเคลียร์

เขาเป็นหนึ่งในสองผู้ฝึกสอนการใช้ปืนยาวที่อยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน

จีอุนตาได้เข้าฝึกคอร์สการกำจัดเป้าหมายของกองทัพบกสหรัฐ
(U.S. Army Special Operation Target Interdiction Course - SOTIC)

ซึ่งเขาเชื่อว่าโปรแกรมการฝึกสอนพลซุ่มยิงของนาวิกโยธินและของกองทัพบก
นั้นมีความใกล้เคียงกันในด้านการฝึกและการประเมินผู้ทดสอบ
แต่สำหรับการฝึก SOTIC นั้นคนละเรื่อง เป็นเหมือน "คอร์สสุภาพบุรุษ"
ที่ในการฝึกจะไม่มีการซ้อมหรือการกดดัน แต่จะมีแต่เพียงการประเมินว่าผู้ทดสอบนั้น
สามารถปฏิบัติกภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้หรือไม่


จีอุนตากล่าวว่าหากเปรียบเทียบกับพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธิน
กับพลซุ่มยิงของกรมทหารจู่โจมที่ 75 จะต้องมาวัดกันที่การสนับสนุนด้านการเงิน
ของทั้งสองหน่วย เพราะหน่วยของเขาและภารกิจที่ได้รับจะเป็นระดับ Tier 2
ซึ่งมักจะได้ทำการกับหน่วย Tier 1 นั้นทำให้หน่วยของเขาสามารถเข้าถึง
อุปกรณ์การฝึกและการฝึกสอนที่ดีกว่าได้ ทำให้มีความได้เปรียบมากกว่า
พลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธิน

จีอุนตากล่าวว่าการทำงานเป็นพลซุ่มยิงนั้นเป็นศิลปะ
และไม่ว่าคุณจะอยู่ในเหล่าทัพไหน คุณต้องทำให้มันเป็นชีวิตของคุณ

 

แอนดริว วิสคอมบ์ กับหน่วยพลซุ่มยิงของเขา


แอนดริว วิสคอมบ์ (Andrew Wiscombe) เป็นทหารของกองทัพสหรัฐ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2010 โดยถูกส่งไปประจำอยู่ที่ฐานตรวจปฏิบัติการหน้า (Forward Operating Base - FOB) ที่เมืองมามุห์ดิยาห์ อิรัก
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ. 2009 ในฐานะสมาชิกทีมซุ่มยิงสอดแนม

วิสคอมบ์กล่าวว่าพลซุ่มยิงของกองทัพบกสหรัฐที่อยู่ในทีม ซุ่มยิง/สอดแนม
โดยเฉพาะนั้นมีความสามารถเทียบเท่ากับทีมซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธิน
เพราะหากเทียบกับทหารที่ได้ทำการฝึกจากโรงเรียนสอนพลซุ่มยิงและ
ได้กลับไปประจำที่หน่วยทหารราบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการใช้ทักษะที่เรียนมาอยู่บ่อยๆ
ย่อมไม่สามารถอยู่ได้ในระดับเดียวกันอยู่แล้ว

สิ่งที่แตกต่างที่สุดที่วิสคอมบ์นึกออกได้ คือการใช้สูตรในการทำการยิง
"กองทัพบกนั้นใช้หน่วยวัดระยะเป็นเมตรแต่นาวิกโยธินใช้หน่วยวัดระยะเป็นหลา
ดังนั้นสูตรที่ใช้คำนวณจะแตกต่างกันนิดหน่อย" วิสคอมบ์กล่าว

"ถึงแม้จะมีรายละเอียดเล็กน้อยที่แตกต่างกัน แต่พื้นฐานของพลซุ่มยิงทั้งสองฝั่ง
ก็เหมือนกันและอาจจะมีเรื่องราวล้อเลียนอีกฝั่งจากทั้งสองฝ่าย แต่ในท้ายที่สุด
ก็มีแต่การให้ความเคารพซึ่งกันและกันสำหรับพลปืนและพลระบุตำแหน่งที่มีฝีมือ"

เจม คูปแมน ขณะกำลังเล็งมองผ่านกล้องสโคปที่จุดตรวจการณ์


เจม คูปแมน (Jaime Koopman) ใช้เวลาในกองทัพบกสหรัฐเป็นเวลากว่า 8 ปี
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ. 2016 เขาเคยทำงานกับพลซุ่มยิงสอดแนม
ของนาวิกโยธินมาแล้วหลายครั้งในฐานะพลซุ่มยิง แล้วเขายังเคยมีผู้ใต้บังคับบัญชา
เป็นอดีตพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธิน 2 คน หลังจากที่พวกเขา
ขอย้ายมาอยู่กองทัพบก

อีกทั้งคูปแมนยังเคยได้ทำงานร่วมกับอดีตทหารผ่านศึกที่เป็นพลซุ่มยิงสอดแนม
ของนาวิกโยธินและอีกมายมายตอนแข่งขันพลซุ่มยิงระดับนานาชาติ
International Sniper Competition
ของ U.S. Army Special Operations Command (USASOC)

ประสบการณ์ของคูปแมนกับพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธินแสดงให้เขาเห็นว่า
การฝึกสอนของพวกเขานั้น ต่างกับการฝึกสอนของโรงเรียนสอนพลซุ่มยิง
ของกองทัพบกไม่เท่าไหร่นักแต่ก็ยังสามารถเปรียบเทียบได้

"การเป็นพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธินนั้นเป็นสายเฉพาะทาง
ดังนั้นระยะเวลาการฝึกในโรงเรียนของพวกเขาจึงยาวนานกว่า
เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการศึกษาในระดับที่ลึกขึ้นในแต่ละสายของวิชา"

"ในขณะที่พลซุ่มยิงของกองทัพบกถูกคาดหวังให้ได้รับ
ความรู้ที่มากขึ้นจากประสบการณ์ที่เขาได้รับจากข้างนอกกับหมู่ของเขา"

ซึ่งถ้าหากจะเทียบผลงานจากการแข่งขันระดับนานาชาติ
การแข่งขัน USASOC International Sniper Competition ปี ค.ศ. 2019

อันดับที่ 1 และ 2 ส่วนใหญ่จะมาจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
ของกองทัพบกสหรัฐ U.S. Army Special Operations Command (USASOC)
ในขณะที่ทีมอันดับ 3 เป็นทีมพลซุ่มยิงสอดแนมของนาวิกโยธิน

ส่วนในการแข่งขันในปี ค.ศ. 2020 นั้นถูกเลื่อนออกไป
เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

 

ที่มา

https://coffeeordie.com/sniper-vs-sniper/ , 14 July 2020

Leave a comment

All comments are moderated before being published